ประวัติความเป็นมา

กำเนิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ในสมัยโบราณศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่า “สนาตนธรรม” แปลว่า “ศาสนาสนาตน”

คำว่า “สนาตน” นี้ หมายถึง “เป็นนิตย์” คือ ไม่สิ้นสุดไม่รู้จักตาย เรื่อยๆ       เสมอๆ หรืออะไรในทำนองนี้นอกจากนั้นคำว่า “สนาตน” ยังแปลได้อีกอย่างหนึ่งเมื่อแยกพยางค์ออกแล้ว ตือ สนา แปลว่า ไม่รู้จักตาย  หรือ เป็นนิตย์ กับตน  แปลว่า กาย เมื่อรวมเช้ากันแล้วแปลตามศัพท์ หรือแปลโดยพยัญชนะว่า กายอันไม่รู้จักตาย แปลเอาความหมายถึง พระวิษณุ หรือกายอันไม่รู้จักตาย กล่าวคือ  พระวิษณุ เพราะฉะนั้นสนาตนธรรมนี้จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า วิษณุกรรม คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้านั่นเอง

ครั้นเวลาล่วงมาหลายพันปี ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกต่อกันมา “ไวทิกธรรม” คือ ธรรมที่ได้จากพระเวทซึ่งในความจริงพระเวทก็คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้านั่นเอง

หลายพันปีต่อมา มีผู้ตั้งชื่อให้ศาสนานี้ใหม่ว่า “อารยธรรม” ซึ่งแปลว่า ธรรมอันดีงานก็ได้ ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงานก็ได้ รวมความว่าเป็นหลักธรรมอันดีงามทั้งสิ้น

ครั้นเวลาล่วงเรยมาอีกหลายพันปี ศาสนาสนาตนธรรมนี้เปลี่ยนไปเรียกว่า “พราหมณธรรม” ซึ่งแปลว่าคำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะกำลังครองความเป็นใหญ่มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์จัดว่ามีโทษหนัก จึงเห็นได้ว่า สนาตนธรรม ไวทิกธรรม อารยธรรม และพราหมณธรรม ที่แท้จริงแล้วคือ ธรรมะอันเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่เรียกชื่อไปต่างๆ กันตามยุคตามสมัย จนถึงปัจจุบันตำราพระเวทก็ยังคงอยู่ ในความรับผิดชอบของพราหมณ์ โดยเฉพาะพราหมณ์ผู้มีที่หน้าที่ท่องบทสาธยาย และสั่งสอนตลอดจนจบพิธีต่างๆ ให้แก่ชนวรรณะของตน

ต่อมาศาสนานี้ได้เปลี่ยนชื่อเรียกกันใหม่อีกครั่งว่า “หินทูธรรม” ซึ่งเป็นการเรียกตามที่นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์เรียกกัน คำว่า หินทูนี้ มีประวัติมาจาก สินธุ ซึ่งเริ่มเรียกกันได้ประมาณ 700 ปีก่อน แล้วมากลายเสียง เป็น ไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น อสุสม หรืออัสสม ก็มาออกเสียงเป็น อะหม หรืออาหม เป็นต้น เพราะฉะนั้นสินธุจึงกลายเป็นหินทูก็ได้

คำว่า “หินทู นี้ถ้าแปลตามไวยกรณ์ ภาษาสันสกฤตแล้ว แปลว่า “ผู้ที่ละเว้นหิงสากรรม” คือ         “อหิงสก” เพราะตามหลักไวยกรณ์ภาษาสันสกฤตมีการวิเคราะห์ศัพท์สมาสนี้ว่า หิงสสยา ทูยเต อิติ หินทู แปลความหมายจากผู้ใดละเว้นจากหิงสากรรมผู้นั้นคือ “หินทู” ย่อมที่จะเห็นได้แล้วว่า ที่ในภาษาไทยเรียกว่าหินทู ว่า ฮินดูนี้ ยังมิใช่คำเรียกที่ถูกต้องนัก คำเรียกที่ถูกต้องนั้น คือ หินทู และด้วยประการฉะนี้ “ฮินดูธรรม” หรือ “หินทูธรรม” จึงแปลว่า ธรรมะที่สอนลัทธิอหิงสา

ปัญหาชื่อที่ว่า “สนาตนธรรม” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยไหนนั้น ความจริงในโลกนี้ยังไม่เคยมีใครตอบได้อย่างถูกต้องท่องแท้เลย ได้แต่สันนิษฐานแลอภิปรายให้ความเห็นกันไปต่างๆ ตามทรรศนานุทรรศนะของแต่ละคน

ในคัมภีร์พระเวทตอนหนึ่งตอบได้ว่า “สนาตนธรรม” นี้ เป็นธรรมทั้งอนาทิและเนติ คำว่า อนาทิ (อน+อาทิ) แปลตามศัพท์ว่า ไม่มีต้น หรือไม่สามารถหาตอนปลายได้ หรือไม่รู้จบ หากสรุปได้ง่าย        สนาตนธรรม ก็คือ ธรรมะอันไม่มีต้นและไม่มีปลาย

แหล่งอ้างอิง http://www.siamganesh.com/books/vighanesa/book-vighanesa-A.html

ใส่ความเห็น